กติกาและภาษาหมากรุกวิธีนับนับศักดิ์หมากรุก

  ก่อนที่จะลงมือเดินหมากตาแรกกัน จำเป็นต้อง   ทำความรู้จักกับกติกา   และภาษาหมากรุกที่เป็นพื้นฐานในการเล่นหมากรุกกันก่อน ดังนี้.
      
เดิน   ในการเดินหมากผู้เล่นสลับกันเดินคนละ ๑ ครั้ง ส่วนผู้เริ่มเดินหมากตาแรก จะเป็นฝ่ายผู้เล่น
 หมากขาว   ส่วนที่ว่าใครจะเดินหมากแดงหรือขาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน ยกเว้นในกรณีที่มีการแข่งขัน
 จะต้องเสี่ยงทายกัน เพราะผู้ได้เล่นหมากขาว คือฝ่ายเดินก่อนมักจะเป็นฝ่ายได้เปรียบส่วนการจะเดินตาใดก่อนหลังนั้น

ไม่มีกติการกำหนดไว้ ยกเว้นเมื่อคู่ต่อสู้ เดินหมากตัวใดตัวหนึ่งมารุกขุน จะต้องเดินขุนก่อนเสมอ เว้นเสียแต่ว่า
 สามารถเดินหมากตัวอื่นมาปิดตารุกได้ ก็ไม่ต้องเดินขุน
      
   ผูก   คือการเดินหมาก ให้อยู่ในตำแหน่ง ที่มี หมากตัวอื่นคุ้มกันเชื่อมโยงถึงกันตลอด หากคู่ต่อสู้
 กินหมากตัวใดตัวหนึ่ง ก็สามารกินตอบโต้ได้ทันที่ผู้ที่จะเล่นหมากรุกเก่งได้ จะต้องสามารถเดินหมาก
 ให้ผูกคล้องกันเป็นสายโซ่
       
ขาด มีความหมายตรงกันข้ามกับผูก คือการเดินหมากที่ตัวหมากอยู่กระจัดกระจาย ขาดตัวคุ้มกัน
 ซึ่งกันและกัน หากคู่ต่อสู้กินหมากตัวใดตัวหนึ่งได้จะทำให้หมากตัวอื่นๆ พลอยถูกกินไปด้วย ซึ่งจะเป็น
 เหตุให้พ่ายแพ้ได้ในที่สุด
        
กิน   คือการกำจัดหมากคู่ต่อสู้ ออกไปจากกระ ดาน  การกินกันจะเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
 สามารถเดินหมาก เข้าไปทับที่หมากของคู่ต่อสู้ได้โดยการยกหมากคู่ต่อสู้ออก แล้ววางหมากของตน
 ลงไปแทนที่ หมากทุกตัวกินกันได้หมด
ยกเว้น ขุนห้ามกินเด็ดขาด
         
รุก   เป็นการเดินหมากตัวใดตัวหนึ่ง เข้าไปยังตา

 ที่สามารถจะกินขุนได้ แต่เนื่องจากมีกติกาห้ามกินขุนฝ่ายที่จะถูกกินขุน จะต้องเดินขุนหลบ หรือเดินหมาก ตัวอื่นมาบัง หรือกินหมากตัวที่บังอาจมารุก ขุน ก็ได้ถ้าไม่อยู่ในตาที่หมากคู่ต่อสู้ตัวอื่นยืนจ้องรุกขุนอยู่ก่อน
          
รุกฆาต   กรณีคล้ายกับการรุก แต่เป็นการเดินหมาก ที่สามารถจะกินหมากคู่ต่อสู้ได้ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป ซึ่งในจำนวน หมากที่จะถูกกินนั้น จะต้อง มีขุนอยู่ด้วยฝ่ายที่ถูกรุกฆาต จะต้องเดินขุนหลบ โดยต้องจำยอมให้หมากตัวใดตัวหนึ่ง ถูกกินฟรี
          
เปิดรุก    คือการเดินหมากตัวใดตัวหนึ่ง เพื่อเปิดทางให้หมากตัวหลังรุก ขุน ได้ ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นเรือที่อาจอยู่ห่างจากขุนถึง ๘ ตา ซึ่งบางครั้งคู่ต่อสู้ ไม่ทันได้มองจึงมีมารยาทในการเล่นหมากรุกอยู่ว่า ฝ่ายที่รุกจะต้องบอก ให้ฝ่ายถูกรุกทราบ ว่าเปิดรุกแล้วนะ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามหาทางหลบขุนไป หรือเดินหมากตัวอื่นมาบังหน้าขุนไว้ ภาษาหมากรุก เรียกว่า "เปิดรุก"อับ / เสมอ   หมากอับคือการที่ขุนหมดตาเดินอันเนื่องมาจากถูกหมากคู่ต่อสู้ล้อมไว้ทุกด้าน โดยไม่มีตารุก มักเกิดขึ้นใน ๒ กรณี คือเกิดจากการเดิน พลั้งเผลอหรือจงใจเดินเข้าตาอับ การตั้งใจเดินหมากให้อับ เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเล่นหมากรุก เมื่อฝ่ายตกเป็นลองเห็นว่า   มีโอกาสแพ้สูง ก็ใช้กลวิธีเดินหมากให้อับ เพราะตามกติกาการเล่นหมากรุก หมากอับถือว่าเสมอกัน   เสมอ  การเสมอกันในการเล่นหมากรุก เกิดขึ้นได้ ๒ กรณีด้วยกัน กรณีแรกเกิดจากการเดินหมาก เข้าตาอับ ตามที่กล่าวแล้ว กรณีที่สองเกิดจากการไล่ไม่จน  ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ในการเล่นหมากรุก   จะมีระยะการเล่นอยู่ ๓  ระยะด้วยกัน เรียกว่าระยะต้นกระดาน ระยะกลาง
 กระดาน และระยะปลายกระดาน   ระยะต้นกระดาน เป็นการขึ้นหมากดูเชิง ชิงไหวชิงพริบกัน ระยะกลางกระดานจะเริ่มประหมัด กินตัวกันไปเรื่อย จนกว่าจะมีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน เกิดขึ้น ก็จะเข้าสู่ระยะที่สามในระยะที่ ๓ นี้ ฝ่ายเสียเปรียบ ซึ่งโดยปกติจะเป็นฝ่ายที่เหลือตัวน้อยกว่า จะเป็นฝ่ายตั้งรับ ฝ่ายได้เปรียบจะเป็นฝ่ายรุกไล่   หากไล่ครบตามกติกาแล้ว   ฝ่ายหนียังหนีไปได้ไล่ไม่จน ให้ถือว่าหมากกระดานนั้นเสมอกัน
กติกาการไล่หมาก ยังมีรายละเอียดที่ต้อง ทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีก ในย่อหน้าต่อ ๆ ไป
        
จน / แพ้   การแพ้ชนะของหมากรุก นั้น ไม่ได้ดู ที่หมากใครเหลือมากเหลือน้อย แต่ถือตัว ขุน เป็นเกณฑ์ขุน ฝ่ายใดถูกรุกจน ฝ่ายนั้นคือฝ่ายแพ้ ฝ่ายผู้รุกเป็นฝ่ายชนะ การจนจะเกิดขึ้นเมื่อขุนฝ่ายใดก็ตาม ถูกคู่ต่อสู้ใช้หมากตัวใดตัวหนึ่งรุก แล้วไม่มีทาง เนื่องจากเดินไปตาใดก็เป็น ตาที่จะถูกกิน อย่างนี้เรียกว่า จนคือแพ กติกาการไล่หมาก    ในการรุกไล่ขุนคู่ต่อสู้ให้จนนั้น จะมีเรื่องกติกาในการนับ เข้ามาเกี่ยวข้อง ๒ วิธี คือนับศักดิ์กระดาน ซึ่งมีค่าเท่ากับ ๖๔ คือไล่ได้ ๖๔ ตาตามจำนวนตารางหมากรุก  และการนับศักดิ์หมาก  ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายไล่ ว่าไล่ด้วยหมากตัวใด จำนวนตา (ครั้ง)ที่จะไล่ได้  ก็ขึ้นอยู่กับศํกดิ์ของหมากตัวนั้น ๆ กรณีที่หนึ่งนับศักดิ์กระดาน จะเกิดขึ้นได้เมื่อเบี้ยของผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย เป็นเบี้ยหงายหมดทุกตัว และฝ่ายเสียเปรียบ เห็นว่าตนเองมีโอกาสแพ้สูง จึงใช้สิทธ์ขอนับศักดิ์กระดาน คือนับ ๖๔ ครั้ง  เพื่อหาโอกาสเอาเสมอ
        
วิธีนับศักดิ์กระดาน เมื่อฝ่ายเสียเปรียบเริ่มเดิน ก็ให้นับ ๑ ดัง ๆ พอที่คู่ต่อสู้ได้ยิน และเมื่อเดินตาต่อ ๆ ไป ก็นับ ๒…๓…ไปตามลำดับ หากฝ่ายไล่รุกไล่จนครบ ๖๔ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๖๕ ฝ่ายหนี ยังเดินต่อไปได้อีก ก็ให้ ถือว่าหมากเสมอกันไม่มีการแพ้ชนะ นอกจากนี้ ขณะที่มีการรุกไล่กันอยู่นั้น หากมีการ
 กินกัน จนฝ่ายถูกไล่เหลือขุนเพียงตัวเดียว จะต้องยุติการนับศักดิ์กระดานทันที และเปลี่ยนมาเป็นการนับศักดิ์หมากแทน ดังนี้.-
       
  วิธีนับนับศักดิ์หมาก ก่อนลงมือนับศักดิ์หมาก ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายต้องสำรวจหมากบนกระดาน ว่าเหลือหมากอะไรบ้างและมีจำนวนเท่าไร เนื่องจากหมากแต่ละตัวมีศักดิ์ หรืออาวุโสแตกต่างกัน เช่น ฝ่ายไล่มีเรือ ม้า โคนให้นับศักดิ์เรือ ถ้าไม่มีเรือจึงนับศักดิ์ ม้า ถ้าไม่มี ม้าจึงนับศักดิ์ โคน และถ้าไม่มี เรือ ม้า หรือ โคนอยู่เลยก็ให้ไปนับศักดิ์ เม็ด หรือเบี้ยหงาย ตามลำดับ ยกตัวอย่างการนับ สมมุติว่าฝ่ายไล่มีเรือ ๑ ลำ
 ม้า ๑ ตัว เบี้ยหงาย ๑ กับ ขุน อีก ๑ เท่ากับว่าฝ่ายไล่มีหมากทั้งหมด ๔ ตัว ฝ่ายถูกไล่แน่นอนว่าต้องเหลือ
ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงพื้นฐาน การเล่นหมากรุกไทยมาถึงขั้นตอนนี้ ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเพียงพอสำหรับการฝึกเล่นหมากรุกแล้ว บางท่านอาจจะนึกสนุกอยากลองเดินหมาก ดูบ้างก็เป็นได้
         คราวนี้เรามาดูถึงวิธีเดินหมาก ตาแรกหรือภาษาหมากรุก เรียกว่า
การขึ้นหมาก ดูบ้างตามที่กกล่าว   ไว้ในเบื้องต้นแล้วว่า ไม่มีกติกา
กำหนดไว้ว่าจะต้องขึ้น หมากตัวใดก่อน แต่ในทางปฏิบัติ สำหรับมือสมัครเล่น อนุญาตให้ขึ้นหมากแบบ
"สูตรเม็ด" ได้          คือให้เดิน เบี้ยตา ๓จ ขึ้นไปตา ๔จ จากนั้นก็เดินเม็ด ตา ๑จ ขึ้นไปแทนที่ เบี้ย ตา ๓จ (ดูภาพประกอบการขึ้นหมากสูตรเม็ด)วิธีนี้เท่ากับอนุญาตให้เดินเม็ดได้ ๓ ตารวดการขึ้นหมากสูตรเม็ดนี้ เป็นการป้องกันคู่ต่อสู้ฉวยโอกาสโจมตีได้ เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ป้องกันตัวไว้แต่แรก สนามภูธรนิยมขึ้นหมากสูตรนี้กัน   สำหรับการเล่นทั่ว ๆ ไปนั้น จะเดินหมากตัวใดก่อนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของผู้เล่นแต่ละคนซึ่งก็มีสูตรสำเร็จอยู่หลายแบบ เช่น กระแตแยกเขี้ยวสิงห์โตล่อแก้ว ม้าเทียมรถ ม้าผูก ม้าโยง เป็นต้น

Back    1   2  Next    

          หน้าแรก     ตัวหมากรุก       พื้นฐาน      กติกา        หมากรุกคอม      เว็บผู้จัดทำ